Thursday, October 15, 2015

10 “คนเดือนตุลา” หนุนรัฐประหาร



เหตุการณ์เดือนตุลาย้อนกลับมาสู่ห้วงความทรงจำของใครหลายๆคนอีกครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่เคยผ่านช่วงเวลานี้มาก่อนคงเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะลืมเรื่อง ราวการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นเสี้ยวหนึ่งของ ประวัติศาสตร์ที่ถูกบดบังในเงามืด

ทั้งเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 ต่างก็เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงโดยรัฐที่ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นจำนวนมาก โดยเหตุการณ์แรก 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพล ถนอม กิตติขจร นำไปสู่การใช้กำลังของรัฐบาลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก

Image.aspx1_22979

ส่วนเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นเหตุการณ์จลาจลและปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในและบริเวณหน้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศ ของจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิการ

370780ThuDecember2003-11-18-21-big10

ภายหลังจากเหตุการณ์ 14ตุลา และ 6ตุลา ก็มีนักศึกษาจำนวนมากที่ต้องระเห็ดระเหินเร่ร่อนหนีการจับกุมจากรัฐ หรือบางส่วนก็ตัดสินใจหลบหนีไปเองเนื่องจากทนสภาพสังคมในขณะนั้นไม่ไหว เข้าป่า และจับอาวุธต่อสู้ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

หลายคนถูกจับกุมอยู่ในเรือนจำบางขวาง ส่วนมากเป็นนักศึกษา นักกิจกรรม นักคิด นักเขียน ปัญญาชน ที่คิดนอกกรอบอุดมการณ์ของรัฐ

เวลาผ่านไปกว่า 40 บุคคลที่เคยผ่านช่วงเวลาการต่อสู้เหล่านี้ได้เติบโตขึ้น เป็นปัญญาชนแถวหน้าของประเทศ บางคนยังคงต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ของตนเอง และบางคนก็ยอมก้มหัวรับใช้อำนาจนอกระบบ

คนที่ยังคงต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาตลอดเสมอมานั้นไม่น่าแปลกใจ แต่ที่น่าแปลกกว่าคือคนที่ออกตัวอย่างชัดเจนว่าสนับสนุนการกระทำรัฐประหาร หรือเข้าร่วมสังคกรรมกับคณะที่ทำรัฐประหาร มาดูกันว่า 10 บุคคล เดือนตุลา ที่น่าสนใจเหล่านี้ เป็นใครกันบ้าง

1. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์

sombat

ในเหตุการณ์วันมหาวิปโยค หรือเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ มีบทบาทเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ซึ่งร่วมในการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และขอให้รัฐบาลในขณะนั้นลาออกด้วย โดยเป็นผู้อ่านประกาศขอให้รัฐบาลปล่อยตัว 13 ขบถรัฐธรรมนูญและเรียกร้องรัฐธรรมนูญภายในเที่ยงของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 แต่เมื่อถึงเวลาแล้วรัฐบาลก็หาได้กระทำไม่ การเดินขบวนจึงเกิดขึ้นที่ถนนราชดำเนินยาวไปจนถึงลานพระบรมรูปทรงม้า

ปัจจุบันสมบัติ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในด้านการเมือง สมบัติ เป็นแกนนำของกลุ่ม กปปส และ เป็นประธานและคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในสปช. อีกด้วย

 

2. เอนก เหล่าธรรมทัศน์

anek

ในช่วงการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาช่วงปี 2519 เอนก เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มจุฬาประชาชน และยังได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เอนกได้หนีเข้าป่าที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเวลากว่าสี่ปี

ปัจจุบัน เอนกเป็น เป็นคณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ ม.รังสิต และร่วมกับ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช) และคณะกรรมการปรองดอง โดยยังเป็นคนพยายามผลักดันกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาติอีกด้วย

 

3. อมร อมรรัตนานนท์

amorn

ถือเป็นหนึ่งในคนเดือนตุลา ที่มีบทบาทสำคัญ โดยก่อนหน้านั้นเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนในปี พ.ศ. 2519 และนำนักเรียนขาสั้นเข้าร่วมเหตุการณ์ 6 ตุลา จากนั้นถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเป็นเวลา 3 วัน ก่อนที่จะหนีเข้าป่า เฉกเช่นนักศึกษาคนเดือนตุลาอื่นๆ ในยุคนั้น โดยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เขตงานสุราษฎร์ธานี ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ยังได้เข้าร่วมกับ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขับไล่ พล.อ. สุจินดา คราประยูร

ปัจจุบัน อมร อมรรัตนานนท์ เปลี่ยนชื่อเป็น รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี บทบาทด้านการเมือง ได้เข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำในการบุกยึดทำเนียบ และบุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังเป็นแกนนำ คปท ร่วมกับพุทธอิสระ มีท่าทีสนับสนุนรัฐประหารที่ชัดเจนคนหนึ่ง

 

4. วิทยากร เชียงกูล

vithayakorn

แม้จะไม่ได้มีบทบาทในการเคลื่อนไหวในช่วงปี 2516-2519 แต่ก็เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในเชิงความคิดแก่นักศึกษาในยุคดังเกล่า เพราะเป็นผู้เขียนบทกลอน "เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน" เมื่อ พ.ศ. 2511 ซึ่งมีท่อนติดปากว่า "ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว" บทกลอนนี้ได้กลายเป็นข้อเขียนหนึ่งในหลายชิ้น ที่มีอิทธพลต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในช่วงนั้น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 และ เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519
ปัจจุบัน วิทยากรดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เคยแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรงต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร (http://www.naewna.com/politic/82151) และยังเป็น กรรมการ สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.) อีกด้วย

 อ่านต่อที่


http://www.ispacethailand.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/7289.html


No comments:

Post a Comment